การประกวดดุษฎีนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ดีเด่น

ประกาศมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เรื่อง การประกวดดุษฎีนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ดีเด่น ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ประกาศการรับสมัครผลงาน

ประกาศการรับสมัครผลงานดุษฎีนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ดีเด่น ระดับบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566

หลักเกณฑ์การพิจารณา

1. ต้องเป็นเรื่องที่แสดงความคิดริเริ่มไม่ซ้ำกับดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ตำรา หรือกรรมวิธีที่เคยมีผู้เสนอแล้ว*

2. ต้องมีการตั้งสมมติฐานที่ต้องการพิสูจน์ หรือประเด็นปัญหาที่ต้องการวิเคราะห์ไว้ชัดเจน*

3. ต้องเลือกใช้วิธีการวิจัยและเครื่องมือวิจัยที่เหมาะสมกับการหาข้อมูลมาพิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งไว้*

4. ต้องมีการเสนอผลงานที่ถูกระเบียบและแบบแผนของการเสนอดุษฎีนิพนธ์/วิทยานิพนธ์ มีการใช้ภาษาหรือการเสนอข้อมูลที่ชัดเจน*
5. ต้องเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย*
6. ผลงานดุษฎีนิพนธ์/วิทยานิพนธ์ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างน้อย 1 ข้อ ดังต่อไปนี้

(1) ก่อให้เกิดทฤษฎีหรือแนวคิดใหม่ๆ หรือหักล้างทฤษฎีเดิม หรือแก้ไขเพิ่มเติมทฤษฎีเดิมในสาระสำคัญอย่างถูกต้อง
(2) สร้างระเบียบวิธีวิจัย หรือเครื่องมือวิจัยใหม่ หรือหักล้างระเบียบวิธีวิจัยเดิมหรือแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบวิธีวิจัยเดิมในสาระสำคัญ
(3) ค้นพบกระบวนวิธี หรือกรรมวิธีของการผลิต การประดิษฐ์ การบริหาร การบริการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสาขาวิชา หรือการผลิตผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ หรือปรับปรุงแก้ไขกระบวนวิธี หรือกรรมวิธีเดิมอย่างสำคัญ

7. มีการนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่เป็นที่ยอมรับระดับชาติหรือระดับนานาชาติ หรือมีการนำไปจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตรหรือมีศักยภาพสูงในการนำไปใช้ประโยชน์

*ตามหลักเกณฑ์ ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ว่าด้วย การให้รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ: รางวัลวิทยานิพนธ์ พ.ศ. 2559

เงื่อนไขและคุณลักษณะของดุษฎีนิพนธ์/วิทยานิพนธ์ที่มีสิทธิเสนอขอรับรางวัล

1. เป็นดุษฎีนิพนธ์/วิทยานิพนธ์ที่ศึกษาค้นคว้าและเขียนโดยนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2565 จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

2. เป็นดุษฎีนิพนธ์/วิทยานิพนธ์ที่ใช้ภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยในการเขียน

3. เป็นดุษฎีนิพนธ์/วิทยานิพนธ์ที่มีผลการสอบดุษฎีนิพนธ์/วิทยานิพนธ์อยู่ในระดับดี (Good) ขึ้นไป

4. เป็นดุษฎีนิพนธ์/วิทยานิพนธ์ที่มีการนำผลงานวิจัยไปเผยแพร่ และ/หรือใช้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

(1) มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่เป็นที่ยอมรับระดับชาติหรือระดับนานาชาติ โดยปรากฏชื่อนักศึกษาเป็นชื่อแรก และผลงานวิจัยที่เผยแพร่ต้องระบุสังกัดเป็นมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

(2) มีการนำไปจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร

(3) มีการนำไปใช้ประโยชน์หรือมีศักยภาพสูงในการนำไปใช้ประโยชน์

5. เป็นดุษฎีนิพนธ์/วิทยานิพนธ์ที่ไม่เคยได้รับรางวัลดุษฎีนิพนธ์/วิทยานิพนธ์ดีเด่นจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง หรือได้รับรางวัลจากองค์กรระดับชาติและนานาชาติ

6. นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาผู้เป็นเจ้าของดุษฎีนิพนธ์/วิทยานิพนธ์ต้องแสดงความยินยอมและเห็นชอบในการเสนอดุษฎีนิพนธ์/วิทยานิพนธ์เพื่อขอรับรางวัล และต้องกำหนดว่าดุษฎีนิพนธ์/วิทยานิพนธ์ จัดอยู่ในกลุ่มสาขาวิชาใด โดยพิจารณาจากสำนักวิชา ดังนี้

(1) กลุ่มสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี ประกอบด้วย

– สำนักวิชาวิทยาศาสตร์

– สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

– สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร

– สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง

(2) กลุ่มสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประกอบด้วย

– สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

– สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ

– สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์

– สำนักวิชาแพทยศาสตร์

– สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์

– สำนักวิชาการแพทย์บูรณาการ

(3) กลุ่มสาขาวิชาทางมนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์ ประกอบด้วย

– สำนักวิชาศิลปศาสตร์

– สำนักวิชาการจัดการ

– สำนักวิชานิติศาสตร์

– สำนักวิชาจีนวิทยา

– สำนักวิชานวัตกรรมสังคม

7. ดุษฎีนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ที่เสนอขอรับรางวัล ต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์/วิทยานิพนธ์ ในการเสนอเข้าร่วมโครงการ

Scroll to Top